คำกล่าวก่อนการนั่งสมาธิ
อิมาหัง ภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง ภะคะวะโต ปะริจจะชามิ
ข้าแต่สมเด็จพระผู้มรฃีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตนี้เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
คำอธิษฐาน
ด้วยมหากุศล ผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้เจริญพระกรรมฐานมานี้ ขอจงเป็นพลวะปัจจัย
เป็นอุปนิสัยตามส่ง ให้ข้าพเจ้าเกิดปัญญาญาณ ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง
จนถึงความพ้นทุกข์ ได้บรรลุมรรคผล นิพพาน ในอนาคตกาลเบื้องหน้านี้เทอญ
เริ่มต้นนั่งสมาธิ
ปล่อยวางความคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ให้หมดไปจากใจ ทำสติจับความรู้สึกอยู่ที่กายอาการสามสิบสอง ทำความรู้สึกนึกคิดเห็นว่าตัวเรานั่งอยู่อย่างไร
เรานั่งขาขวาทับขาซ้ายก็ทำความรู้ว้าเรานั่งขาขวาทับขาซ้ายเรานั่งมือขวาทับมือซ้ายก็รู้ว่าเรานั่งมือขวาทับมือซ้าย เรานั่งตัวตรงก็รู้ว่านั่งตัวตรง เรานั่งหลับตาก็รู้ว่าเราหลับตา นึกรู้เห็นตัวเราตลอดเวลา
น้อมนึกเห็นใบหน้าเราว่ามีลักษณะอย่างไร นึกตั้งแต่ศีรษะตลอดลงมาปลายเท้า นึกเห็นรอบตัวเองแล้วมาพิจารณาอยู่ที่ใบหน้า นึกเห็นคิ้วเห็นตา เห็นหูทั้งสองข้าง นึกเห็นปากเห็นคาง นึกเห็นปลายจมูก นึกเห็นลมหายใจเข้า-ออก
หายใจเข้าก็นึกรู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก หายใจออกยาวก็รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น หายใจเข้าสั้นและออกสั้นก็รู้ว่าขณะนี้เราหายใจเข้า-ออกสั้น ทำความรู้เท่าทันลมหายใจเข้าออก
ทุกลมหายใจเข้า-ออกทำความรู้อยู่ที่ปลายจมูกนึกเห็นใบหน้าของเราเห็นอยู่ที่ปลายจมูกทุกขณะลมหายใจเข้า-ออก กำหนดอยู่ที่สองช่องจมูก หายใจเข้านึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ จนรู้อยู่แต่ พุท-โธ ทุกลมหายใจ
เข้า-ออก นึกเห็นแต่ปลายจมูกสว่างเสมอไป
ระยะแรกนั้นการปฏิบัติพึงกำหนดลมหายใจเข้า-ออกยาวๆเพราะยังสติอ่อนอยู่ ขณะที่นั่งอยู่นั้นกายสงบก็ทำความรู้ว่า กายสงบ ใจสลงบก็ทำความรู้ว่า ใจสงบ สงบอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ทำความรู้อยู่ตลอดเวลา สุขเกิดก็รู้ ทุกข์เกิดก็รู้ ไม่สุขไม่ทุกข์เกิดขึ้นก็รู้ ทำความรู้ทั้งกายใจอยู่อย่างนี้ บางครั้งทุกข์กายแต่ใจสุขก็มี คิดดีก็รู้
รู้แล้วเฉย คิดชั่วก็รู้ รู้แล้วเฉย อะไรที่เกิดขึ้นทุกอย่าทำความเฉยให้เกดขึ้นตลอดเวลา ทำเฉยๆ ให้มากเท่าไหร่ยิ่งดี จิตจะได้ตั้งมั่นได้รวดเร็ว อยู่นานๆเข้าจิตก็เกิดสมาธิ แนบแน่นจนกายจิตเบา หากพลั้งเผลอไปก็ดึงสติกลับมาตั้งไว้จุดเดิมปฏิบัติอยู่เช่นนี้จนเป็นนิสัย ลมหายใจก็จะละเอียดประณีตกายก็เบาใจก็สบาย ในช่วงนี้หากคำภาวนา
พุท-โธ ได้ละไปแล้วก็ให้พิจารณาลมหายใจเข้าออกเพียงอย่างเดียว ( คำ พุท-โธ จะหยุดรำลึกไปเองโดยธรรมชาติอย่าหวนคำรำลึกหรือทวนความรู้สึกใดๆ ขึ้นมาอีก)เมื่อกระแสกลมกลืนกันดีแล้ว จิตก็จะนิ่งเป็นอิสระเป็นสุขและเกิดปัญญา รู้เอง เห็นเอง สัมผัสได้ด้วยจิตเอง....
อิมาหัง ภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง ภะคะวะโต ปะริจจะชามิ
ข้าแต่สมเด็จพระผู้มรฃีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตนี้เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
คำอธิษฐาน
ด้วยมหากุศล ผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้เจริญพระกรรมฐานมานี้ ขอจงเป็นพลวะปัจจัย
เป็นอุปนิสัยตามส่ง ให้ข้าพเจ้าเกิดปัญญาญาณ ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ตลอดชาติอย่างยิ่ง
จนถึงความพ้นทุกข์ ได้บรรลุมรรคผล นิพพาน ในอนาคตกาลเบื้องหน้านี้เทอญ
เริ่มต้นนั่งสมาธิ
ปล่อยวางความคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ให้หมดไปจากใจ ทำสติจับความรู้สึกอยู่ที่กายอาการสามสิบสอง ทำความรู้สึกนึกคิดเห็นว่าตัวเรานั่งอยู่อย่างไร
เรานั่งขาขวาทับขาซ้ายก็ทำความรู้ว้าเรานั่งขาขวาทับขาซ้ายเรานั่งมือขวาทับมือซ้ายก็รู้ว่าเรานั่งมือขวาทับมือซ้าย เรานั่งตัวตรงก็รู้ว่านั่งตัวตรง เรานั่งหลับตาก็รู้ว่าเราหลับตา นึกรู้เห็นตัวเราตลอดเวลา
น้อมนึกเห็นใบหน้าเราว่ามีลักษณะอย่างไร นึกตั้งแต่ศีรษะตลอดลงมาปลายเท้า นึกเห็นรอบตัวเองแล้วมาพิจารณาอยู่ที่ใบหน้า นึกเห็นคิ้วเห็นตา เห็นหูทั้งสองข้าง นึกเห็นปากเห็นคาง นึกเห็นปลายจมูก นึกเห็นลมหายใจเข้า-ออก
หายใจเข้าก็นึกรู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก หายใจออกยาวก็รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น หายใจเข้าสั้นและออกสั้นก็รู้ว่าขณะนี้เราหายใจเข้า-ออกสั้น ทำความรู้เท่าทันลมหายใจเข้าออก
ทุกลมหายใจเข้า-ออกทำความรู้อยู่ที่ปลายจมูกนึกเห็นใบหน้าของเราเห็นอยู่ที่ปลายจมูกทุกขณะลมหายใจเข้า-ออก กำหนดอยู่ที่สองช่องจมูก หายใจเข้านึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ จนรู้อยู่แต่ พุท-โธ ทุกลมหายใจ
เข้า-ออก นึกเห็นแต่ปลายจมูกสว่างเสมอไป
ระยะแรกนั้นการปฏิบัติพึงกำหนดลมหายใจเข้า-ออกยาวๆเพราะยังสติอ่อนอยู่ ขณะที่นั่งอยู่นั้นกายสงบก็ทำความรู้ว่า กายสงบ ใจสลงบก็ทำความรู้ว่า ใจสงบ สงบอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ทำความรู้อยู่ตลอดเวลา สุขเกิดก็รู้ ทุกข์เกิดก็รู้ ไม่สุขไม่ทุกข์เกิดขึ้นก็รู้ ทำความรู้ทั้งกายใจอยู่อย่างนี้ บางครั้งทุกข์กายแต่ใจสุขก็มี คิดดีก็รู้
รู้แล้วเฉย คิดชั่วก็รู้ รู้แล้วเฉย อะไรที่เกิดขึ้นทุกอย่าทำความเฉยให้เกดขึ้นตลอดเวลา ทำเฉยๆ ให้มากเท่าไหร่ยิ่งดี จิตจะได้ตั้งมั่นได้รวดเร็ว อยู่นานๆเข้าจิตก็เกิดสมาธิ แนบแน่นจนกายจิตเบา หากพลั้งเผลอไปก็ดึงสติกลับมาตั้งไว้จุดเดิมปฏิบัติอยู่เช่นนี้จนเป็นนิสัย ลมหายใจก็จะละเอียดประณีตกายก็เบาใจก็สบาย ในช่วงนี้หากคำภาวนา
พุท-โธ ได้ละไปแล้วก็ให้พิจารณาลมหายใจเข้าออกเพียงอย่างเดียว ( คำ พุท-โธ จะหยุดรำลึกไปเองโดยธรรมชาติอย่าหวนคำรำลึกหรือทวนความรู้สึกใดๆ ขึ้นมาอีก)เมื่อกระแสกลมกลืนกันดีแล้ว จิตก็จะนิ่งเป็นอิสระเป็นสุขและเกิดปัญญา รู้เอง เห็นเอง สัมผัสได้ด้วยจิตเอง....